ยินดี ต้อนรับ สู่บล็อก ภาษาไทย ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ฉันท์
 ฉันท์ คือลักษณะถ้อยคำ ที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น ไห้เกิดความไพเราะ ซาบซึ้ง โดยกำหนดคณะ ครุลหุ และสัมผัสไว้ เป็นมาตรฐาน
ฉันท์นี้ไทยได้ถ่ายแบบมาจากอินเดีย ของเดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และสันสกฤต โดยเฉพาะในภาษาบาลี เขามีตำราที่กล่าวถึง วิธีแต่งฉันท์ไว้ เป็นแบบฉบับ เรียกชื่อว่า "คัมภีร์วุตโตทัย" แล้วต่อมาไทยเราได้จำลองแบบ มาแต่งในภาษาไทย โดยเพิ่มเติม บังคับสัมผัสขึ้น เพื่อให้เกิดความไพเราะ ตามแบบนิยมของไทย ซึ่งในภาษาเดิมของเขา หามีไม่

          ฉันท์ในภาษาบาลี แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ฉันท์วรรณพฤติ กับฉันท์มาตราพฤติ
          ฉันท์ใด กำหนดด้วยตัวอักษร คือ วางคณะ และกำหนดเสียงหนักเบา ที่เรียกว่า ครุลหุ เป็นสำคัญ ฉันท์นั้นเรียกว่า วรรณพฤติ
          ฉันท์ใด กำหนดด้วยมาตรา คือ วางจังหวะสั้นยาว ของมาตราเสียง เป็นสำคัญ นับคำลหุเป็น ๑ มาตรา คำครุ นับเป็น ๒ มาตรา ไม่กำหนดตัวอักษร เหมือนอย่างวรรณพฤติ ฉันท์นั้นเรียกว่า มาตราพฤติ


วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ร่ายยาว
      ลักษณะการแต่ง     ร่ายยาวไม่กำหนดจำนวนคำ หรือวรรคแน่นอน จะใช้คำมากเท่าไรก็ได้ แต่ไม่ควรน้อยกว่า 5 คำ
       การสัมผัสจะให้คำสุดท้ายของวรรคต้นสัมผัสคำใดคำหนึ่งของวรรคต่อๆไปโดยไม่กำหนดว่าจะเป็นคำไหน
       แต่อย่าให้อยู่ใกล้ชิดกับคำสุดท้าย  ส่วนเอกโทก็ไม่บังคับ ร่ายยาวนี้ใช้แต่งเทศน์ หรือบทสวด

        ที่ต้องว่าเป็นทำนอง เช่น เทศน์มหาชาติ เทศน์ธรรมวัตร  เมื่อจบความตอนหนึ่งๆมักลงท้ายด้วยคำว่า นั้นแล  นั้นเถิด  นี้แล  ฉะนี้แล  ด้วยประการฉะนี้ อ่านต่อ


วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โครงสี่สุภาพ
 

ประวัติความเป็นมา
โคลงสี่สุภาพ ปรากฏในวรรณกรรมไทย ตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา ปรากฏในมหาชาติคำหลวงเป็นเรื่องแรก[1] และมีวรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 3 เรื่อง ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย โคลงมังทราตีเชียงใหม่ และลิลิตพระลอ
สมัยอยุธยาตอนกลาง วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพ ได้แก่ โครงเรื่องพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม และโคลงราชสวัสดิ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระนายรายณ์มหาราช โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช โคลงนิราศนครสวรรค์ กาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสามของพระศรีมโหสถ
สมัยอยุธยาตอนปลาย ได้แก่ โคลงนิราศพระบาท โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย และกาพย์ห่อโคลงพระราชนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร
สมัยธนบุรี ได้แก่ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี และลิลิตเพชรมงกุฎ
สมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพที่เด่น ๆ ได้แก่ ลิลิตะเลงพ่าย โคลงนิราศนรินทร์ โคลงนิราศสุพรรณ โคลงโลกนิติ สามกรุง
โคลงสี่สุภาพเป็นคำประพันธ์ที่กวีชอบแต่งและผ่านการพัฒนามายาวนานจนมีฉันทลักษณ์ที่ลงตัวและเป็นแบบฉบับดังที่ยึดถือกันในปัจจุบัน  อ่านต่อ

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 
หัวใจชายหนุ่ม

ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์

-         เป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ ทรงใช้นามปากกาว่า รามจิตติ

-         ทรงเป็นโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

-         ทรงได้รับสามัญญา ว่า พระมหาธีระราชเจ้า แปลว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่

-         ทรงคัดเลือกจดหมายฉบับที่น่าอ่าน ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต ซึ่งเป็นหนังสือพืมพ์รายสัปดาห์

ลักษณะการแต่ง บันเทิงคดี โดยใช้การเขียนจดหมายเล่าเรื่องเป็นตอนๆต่อเนื่องกันไป เป็นจด ๑๘ ฉบับ

เรื่องย่อ นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอกเรียนจบจากอังกฤษ มีความนิยมวัฒนธรรมผรั่ง ชื่นชมผู้หญิงสมัยใหม่จนได้แต่งงานกับผู้หญิงทันสมัย ที่ขาดคุณสมบัติขิงภรรยาที่ดี ชีวิตประสบอุปสรรคแต่ในที่สุดปัญหาต่างๆก็คลี่คลายไป อ่านต่อ